วัดเขตคิชฌาวาส <31 ม.ค. 57>>
เดิมทีวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาตั้งแต่โบราณกาล สร้างมาแต่ครั้งใด สมัยไหน ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บริเวณรอบวัดเป็นป่าดงพงหญ้าหนาแน่นไปด้วยไม้ใหญ่นานาชนิด เป็นที่อาศัย แร้ง กา นกนา นาพันธุ์ อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากชาวบ้านต่างมาแต่ละทิศมาอาศัยที่บุกเบิกทำไร่ ทำนา อาศัยลำน้ำไหลมาทางทิศตะวันตก ลำห้วยแห่งนี้มีชื่อว่า แม่ตาช่วย ไหลผ่านมาตลอดมิได้ขาด ชาวบ้านเรียกว่า บ้านน้ำแพร่ เมื่อมีคนมาอาศัยบ้านน้ำแพร่มากขึ้น ต่างคนต่างคิดว่าสมควรที่สร้างศูนย์รวมน้ำใจของชาวบ้าน ก็ประชุมตกลงเป็นเอกฉันท์ โดยการสร้างวัดขึ้นมาเป็นสถานที่ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลต่างๆ และปฏิบัติธรรม อบรมบ่มนิสัยชำระจิตใจให้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ พระศาสนา บ้านเมือง จึงร่วมกันพัฒนาสถานที่ โดยอาราธนาเจ้าอธิการอุทธา อุตตะมะปัญโญ เจ้าคณะตำบลน้ำแพร่ เจ้าอาวาสวัดเอรัณฑวัน สมัยนั้นมาเป็นประธานเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2509 ตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดทุ่งแร้งพอมาถึง พ.ศ. 2545 เจ้าอาวาสคณะกรรมการ อ.บ.ต. ญาติโยม ผู้อุปถัมภ์วัดมีมติเห็นชอบเปลี่ยนชื่อ วัดทุ่งรังแร้ง เป็น วัดเขตคิชฌาวาส เพื่อความเหมาะสมและสำนวนที่สุภาพ จึงได้รายงานผ่านตำบล อำเภอ จังหวัด กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2546 ตามประกาศทางราชการ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนั้น บริเวณด้านหน้าวิหาร มีซากของเจดีย์เก่า คาดว่าน่าจะเป็นเจดีย์สมัยเมื่อครั้งที่สร้างวัดกันขึ้นมาใหม่ๆ ในส่วนของวิหารนั้นเป็นวิหาร เป็นรูปทรงล้านนา ที่มีการสร้างผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีหน้าต่าง และช่องแสงโดยรอบทุกด้าน บริเวณผนังภายในเขียนด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธศาสนา ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จของผัง ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา สร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองชั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด (หลังคาแผ่นไม้) ภายในวิหารประดิษฐานองค์พระประธาน
|